วันอังคารที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ตา-ใบหน้ากระตุก สัญญาณร้ายต่อสุขภาพ



ตากระตุกหน้ากระตุก” คุณเคยเป็นอาการแบบนี้หรือไม่ เชื่อว่าหลายคนคงเคยมีอาการแบบนี้กันแน่ แต่ทว่าคนส่วนใหญ่ถ้ามีอาการตากระตุก หน้ากระตุกคงคิดกันไปว่าเป็นเรื่องของสัญญาณการบอกเหตุโชคลางเสียมากกว่า จึงไม่ได้เอะใจกับอาการดังกล่าว แต่ใครจะทราบหรือไม่ว่าอาการดังกล่าวอาจจะไม่ใช่ อาการทำธรรมดาๆ อย่างที่คิดเสียแล้ว ดังนั้น วันนี้เราจะมาทราบถึงสาเหตุของอาการตากระตุก ใบหน้ากระตุกว่าเกิดจากสาเหตุอะไร

โรคตากระตุก (Blepharospasm) หรือที่เรียกว่า ตาเขม่น เป็นภาวะที่มีการกระตุกของกล้ามเนื้อกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเพียงกลุ่มเดียว เช่น ใต้หนังตา มุมปากหรือเฉพาะกล้ามเนื้อรอบลูกตาข้างใดข้างหนึ่งเท่านั้น ภาวะนี้ในบางรายอาจเกิดเป็นประจำ จนอาจติดเป็นนิสัยได้ มักจะมีอาการกระตุกมากเวลาเครียดหรือกังวลใจ รวมทั้งการพักผ่อนไม่เพียง พอก็อาจก่อให้เกิดอาการตาเขม่นได้บ่อยๆ และถ้าได้รับการพักผ่อนที่เพียงพออาการ เหล่านี้ก็จะหายได้เอง โดยพบได้ในวัยผู้ใหญ่ อายุเฉลี่ย 45-50 ปี พบในผู้หญิง มากกว่าผู้ชาย

ตากะพริบค้าง (Blepharo spasm) ภาวะนี้ถือว่าเป็นการเคลื่อนไหวผิดปกติของร่างกายที่เรียกว่า ดีย์สโทเนีย (Dystonia) ผู้ป่วยจะมีตากะพริบทั้งสองข้างพร้อมๆ กัน ซึ่งเป็นผลมาจากกล้ามเนื้อ รอบลูกตาหดเกร็งตัวตลอดเวลา ในผู้ป่วยกลุ่มนี้เราสามารถแบ่งเป็น 2 ลักษณะใหญ่ๆ คือ กะพริบตาถี่ๆ หรือกะพริบตาปิดค้างและลืมตาไม่ขึ้น

ใบหน้ากระตุกครึ่งซีก (Hemifacial Spasm) ภาวะนี้เป็นความเคลื่อนไหวผิดปกติที่พบบ่อยในคนไทย โดยจะพบว่ากล้ามเนื้อใบหน้าทั้งซีกที่เลี้ยงด้วยประสาทสมองคู่ที่ 7 จะมีการกระตุกถี่ๆ และเกร็งค้าง อาการของโรคนี้จะก่อให้เกิดความรำคาญและทำให้ผู้ป่วยอายไม่กล้าเข้าสังคม ซึ่งเป็นโรคที่ไม่รุนแรงแต่รักษาไม่หาย อาการกระตุกจะเป็นมากขึ้น เมื่อผู้ป่วยตื่นเต้น ตกใจ หรือกังวล

อาการหดเกร็งตัวของกล้ามเนื้อใบหน้าบริเวณแนวตรงกลางทั้งหมด (Meige Syndrome) ซึ่งจะประกอบด้วยอาการตากะพริบค้างร่วมกับการเคลื่อน ไหวผิดปกติของปาก จมูกและคิ้วร่วมด้วย กลุ่มอาการนี้ถือว่าเป็นการเคลื่อนไหวผิดปกติชนิดดีย์สโทเนีย

การเคลื่อนไหวผิดปกติของกล้าม เนื้อบริเวณรอบปาก คาง และลิ้น (Oro facial Dyskinesia) จะมีผลทำให้เกิดการเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลาของปาก คาง และลิ้น ภาวะนี้ส่วนมากเกิดจากการแพ้ยากลุ่มยากล่อมประสาทหลัก หรือยากลุ่มที่ใช้รักษาโรคพาร์กินสัน ซึ่งโดยมาก มักจะพบในผู้สูงอายุ ส่วนสาเหตุของอาการดังกล่าวเชื่อว่าเกิดจากเส้นเลือดที่เลี้ยงก้านสมอง เกิดคดเคี้ยวและไปกดเบียดเส้นประสาท สมองเส้นที่ 7 ทำให้เกิดการนำกระแสประสาทที่ผิดปกติขึ้นมา

ไม่ว่าคุณจะมีอายุเท่าไร โรคต่างๆ ก็สามารถถามหาคุณได้ ก่อนที่อะไรจะสายเกินแก้หันมาใส่ใจ ดูแลรักษาสุขภาพ ของเราให้แข็งแรงตลอดไปกันดีกว่า  เพียงแค่ตรวจร่างกายประจำปีอย่างสม่ำเสมอ ออกกำลังกาย รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และพักผ่อนให้เพียงพอ เท่านี้คุณก็มีร่างกายที่แข็งแรงไปอีกนาน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น