วันจันทร์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2553

พระบรมราชาโชวาท ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

r





    หลาย ต่อหลายครั้งที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพบเจอปัญหา ทรงใช้ธรรมชาติแก้ปัญหาธรรมชาติด้วยกันดร.สุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา กล่าวถึง แนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว ในงานเปิดตัวโครงการปลูกหญ้าแฝกเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในวโรกาสทรงครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี ของบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) เมื่อเร็ว ๆ นี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงให้ความสำคัญกับทรัพยากร ธรรมชาติอย่างอเนกอนันต์ หลายครั้งที่มีพระราชดำรัสเกี่ยวกับป่าและน้ำ อาทิ ให้เก็บกักน้ำไว้บนที่สูงมากที่สุดและจ่ายปันลดหลั่นลงมา ดังพระราชดำรัสเมื่อวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2529 ณ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายฯให้พิจารณาส่งน้ำขึ้นไปยังจุดสูงที่สุดเท่าที่ จะดำเนินการได้ทั้งนี้ เพื่อให้สามารถจ่ายน้ำลงไปหล่อเลี้ยงกล้าไม้อ่อนที่ปลูกทดแทนไว้บนภูเขาได้ ตลอดเวลาหรือการฟื้นฟูตามหลักธรรมชาติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงชี้แนะแนวทางโดยถือหลักธรรมชาติฟื้นตัวเอง ดังพระราชดำรัสพระราชทานเนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษา  4 ธันวาคม พ.ศ. 2547 ว่าถ้าพูดเรื่องปลูกป่านี้จะยืดยาวมาก ไม่มีสิ้นสุด แต่จะต้องอธิบายอย่างนี้ว่า ถ้าได้เลือกที่ที่เหมาะสม แล้วก็ทิ้งให้อยู่อย่างนั้นโดยไม่รังแกป่า ต้นไม้จะขึ้นเองแม้ป่าจะสิ้น ไปแต่การปลูกป่าทดแทนนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีแนวพระราชดำริเรื่องของการปลูกป่าทดแทนใน เรื่องนี้เมื่อ พ.ศ. 2537 ว่าทรงให้ความสำคัญกับพืชพันธุ์ไม้ท้องถิ่น ทรงเตือนให้ระวังการนำพันธุ์ไม้ต่างถิ่นเข้าไปปลูก โดยไม่ได้ศึกษาอย่างดีพอมาก่อนการปลูกป่าธรรมชาติหรือปลูกป่าต้นน้ำ ลำธาร ควรศึกษาดูก่อนว่าพืชพันธุ์ไม้ดั้งเดิมมีอะไรบ้าง แล้วปลูกแซมตามรายการชนิดต้นไม้ที่ศึกษามาได้ ไม่ควรนำไม้แปลกปลอมต่างพันธุ์ต่างถิ่นเข้ามาปลูกโดยยังไม่ได้ศึกษาอย่างแน่ ชัดเสียก่อน อย่างไรก็ตามในพื้นที่อาจจะใช้ไม้โตเร็วที่ไม่เป็นพิษเป็นภัย เช่น ต้นยางพารา ปลูกเป็นต้นไม้นำก่อนก็ได้..
          รวมถึงการจัดหาน้ำให้กับพื้นที่การเกษตรในรูปของเขื่อน อ่างเก็บน้ำ ฝายชะลอความชื้น กระทั่งการจัดทำฝนหลวง พร้อมทั้งมีการจำลองการนำเกษตรทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดำริ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตลอดจนการแก้ปัญหาดินดานด้วยหญ้าแฝก การแก้ไขปัญหาดินเปรี้ยวด้วยวิธีการแกล้งดิน ซึ่งทั้งหมดล้วนมาจากแนวพระราชดำริ ที่บังเกิดผลสำเร็จสู่ประชาชนให้ได้มีคุณภาพชีวิต และความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น
และ ที่สำคัญการจัดนิทรรศการ ได้จำลองรูปแบบการทำงานที่ประสบผลสำเร็จและสามารถขยายผลสู่สังคมโดยทั่วไป ที่เกี่ยวข้องได้ นับตั้งแต่การเกษตรด้านการเพาะปลูก ด้านการจัดการดิน และด้านการบริหารและจัดการน้ำ ตลอดทั้งการเพิ่มคุณภาพ และปริมาณในผลผลิต การอนุรักษ์เชิงพัฒนาด้านสิ่งแวดล้อม เช่น การบริหารและการจัดการน้ำในเขตชุมชนเมือง ดังกรณีกังหันน้ำชัยพัฒนา และการใช้พืชคุณภาพต่ำ และมีประโยชน์น้อยมาเป็นตัวกรองน้ำตามธรรมชาติก่อนปล่อยสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ และทะเลที่ประสบความสำเร็จในการรณรงค์โครงการเศรฐกิจพอเพียงในพื้นที่ กรุงเทพมหานคร ของเขตตลิ่งชัน และทวีวัฒนา โดยกรุงเทพมหานคร เป็นต้น ทั้งหมด เหล่านี้มีการนำมาจัดแสดงในรูปแบบนิทรรศการที่มีชีวิต สามารถมองเห็นได้อย่างเป็นรูปธรรม เพื่อให้ประชาชนในกรุงเทพมหานครได้รับรู้นายสมพลกล่าว
และตลอดเวลาใน ระหว่างการจัดงานปรากฏ ว่ามีประชาชนทั้งที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร และประชาชนที่อาศัยอยู่ในต่างจังหวัด ที่เดินทางมาชมงานต่างให้ความสนใจต้องการนำเอาแนวพระราชดำริของพระองค์เพื่อ ไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน และการประกอบอาชีพอย่างเห็นได้ชัดเจน โดยที่ในบางรายได้ให้ความสนใจด้วยการสอบถามอย่างละเอียดและขอทราบแหล่งเพื่อ ศึกษาดูงานในโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ที่สอดคล้องกับงานในอาชีพของตนเองโดยเฉพาะในงานการพัฒนาด้านการเกษตร เศรษฐกิจพอเพียงจะมีความสนใจมาก เนื่องจากประเทศอยู่ในภาวะเศรษฐกิจขาลง ขณะเดียวกันหลักการเศรษฐกิจ พอเพียงนับเป็นกรรมวิธีในการใช้ชีวิตที่เหมาะสมที่สุดสำหรับสังคมไทยตลอดมา และหลายครั้งที่สังคมไทยอยู่ในสภาวะเศรษฐกิจถดถอย การใช้ชีวิตตามแนวพระราชดำริในโครงการเศรษฐกิจพอเพียงได้เข้ามาเป็นเส้นทาง เลือก และโอกาสเพื่อความอยู่รอดของประเทศชาติมาโดยตลอดนอกจากนี้ทาง สำนักงาน กปร. ยังได้นำคู่มือตามแนวพระราชดำริ สมุดภาพชุดพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงงานหนักเพียงใด ภาพพระบรมฉายาลักษณ์ สมุดแจกโครงการ 60 ปีครองราชย์ ประโยชน์สุข ประชาราษฎร์มาแจกจ่ายแก่ประชาชนที่เดินทางมาร่วมงานด้วยซึ่งเอกสาร คู่มือตามแนวพระราชดำริ มีจำนวน 11 เล่ม ประกอบด้วย หลักการทรงงานในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เศรษฐกิจพอเพียง ปรัชญาชี้ถึงแนวทางการดำเนินชีวิต ทฤษฎีใหม่ชีวิตพอเพียง จอมปราชญ์แห่งดิน น้ำคือชีวิต รักษ์ป่ารักษาชีวิต ฝายชะลอความชุ่มชื้นในรูปแบบต่าง ๆ หญ้าแฝกกำแพงธรรมชาติที่ มีชีวิต ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติที่มีชีวิตผล สำเร็จจากแนวพระราชดำริและพระเกียรติเกริกไกรหนังสือและเอกสารที่เกี่ยวข้องกับงานอันเนื่องมาจากพระราช ดำริ และหลักการในการทรงงานในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่มีการแจกจ่ายแก่ประชาชนในครั้งนี้ ก็เพื่อให้ประชาชนโดยทั่วไปได้รับทราบถึงความเป็นมาในโครงการอันเนื่องมาจาก พระราชดำริ และได้รับทราบถึง  กิจวัตรของพระองค์ในการทรงงาน ที่สำคัญข้อมูลเอกสารเหล่านี้นอกจากการรับรู้ของประชาชนแล้ว ผู้ใดสนใจต้องการนำไปปฏิบัติใช้ในชีวิตประจำวัน ตลอดจนการนำไปพัฒนา ปรับปรุง การประกอบอาชีพของตนเอง ก็สามารถนำไปใช้ได้เลย เนื่องจากที่ผ่านมามีเกษตรกรในหลายพื้นที่ทั่วประเทศ ได้นำเอกสารเหล่านี้ไปเป็นแนวทางในการประกอบอาชีพจนประสบผลสำเร็จมาแล้วหลาย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น