วันจันทร์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2553

8 ขั้นการเตรียมการเลิกบุหรี่

8 ขั้นการเตรียมการเลิกบุหรี่

ในวันที่ 31 พฤษภาคม กำหนดให้เป็นวันงดบุหรี่โลก ในวันนี้เอง
ที่ผู้สูบบุหรี่จำนวนหนึ่ง ถือเป็นวันดีเดย์ สำหรับการเลิกบุหรี่อย่างถาวร ใครที่กำลังคิดเช่นนั้น
ThaiClinic มีข้อแนะนำในการเตรียมตัวสำหรับวันนั้นครับ แต่ก่อนอื่น เรามาทำความเข้าใจกับ
ข้อเท็จจริง เกี่ยวกับบุหรี่ และการเลิกบุหรี่กันก่อนครับ

ทำไมการเลิกบุหรี่ถึงเป็นเรื่องยาก
เหตุที่ทำให้การเลิกบุหรี่เป็นเรื่องยากนั้น มีสาเหตุที่สำคัญ 2 อย่างคือ
- การติดเพราะร่างกายต้องการ หรือ Psysical Addiction
- การติดเพราะสูบจนเป็นนิสัย หรือ Psychological Addiction หรือเรียกง่าย ๆ
ว่าเป็นHabit
จริง ๆ แล้ว การติดบุหรี่ของคนเรา มักจะประกอบไปด้วยทั้ง 2 องค์ประกอบข้างต้น
ดังนั้นการเลิกบุหรี่ จึงจำเป็นต้องกำจัดสาเหตุทั้งสองอย่างออกไปให้ได้พร้อม ๆ กัน

ข้อเท็จจริงของการติดที่เรียกว่า Psysical Addiction
ภายในเวลาเพียงแค่ 7 ถึง 10 วินาที ที่เราสูบบุหรี่ สาร Nicotine
ก็จะเริ่มส่งผลกระทบต่อสมองของเราโดยทันที ทำให้เราเกิดความรู้สึกพึงพอใจ กระฉับกระเฉง ขึ้นมาทันที
แต่อย่างก็ตาม เมื่อเวลาผ่านไป 30 นาที Nicotine ก็จะสลายออกไปจากร่างกายเรา
หมด และเมื่อนั้น ความรู้สึกเหนื่อย กระสับกระสาย และ เครียด
ก็จะเข้ามาแทนที่ จนต้องสูบมวนใหม่ และความต้องการนั้นก็จะเพิ่มปริมาณ และความถี่มากขึ้นเรื่อย ๆ จน
กลายเป็นอาการติดไปในที่สุด

ข้อเท็จจริงของการติดที่เรียกว่า Psychological Addiction หรือ Habit
ข้อนี้ ลองถามตัวเองดูว่า บุหรี่ มีความสำคัญกับชีวิตประจำวันของคุณมากแค่ไหน
สาเหตุของการติดในลักษณะนี้ อธิบายง่าย ๆ ตามหลักการของ Ivan Pavlov ในทฤษฎีที่
เรียกกันตามภาษาชาวบ้านว่า “หมาได้ยินเสียงกระดิ่งแล้วน้ำลายไหล เพราะคิดว่าจะ
ได้อาหาร” กล่าวคือ ได้มีการทดลอง นำกระดิ่งมาสั่น
ทุกครั้งก่อนที่จะให้อาหารสุนัข สุนัขก็จะรับรู้ว่า เมื่อใดก็ตามที่ได้ยินเสียงกระดิ่ง จะได้อาหาร
และเมื่อกระดิ่งดังขึ้น สุนัขก็จะน้ำลายไหล แม้ว่าการสั่นกระดิ่งในครั้งนั้น จะไม่มีอาหารให้ก็ตาม เพราะสุนัข
เรียนรู้ว่า “เอาหละ เมื่อเสียงกระดิ่งดังขึ้น ฉันจะได้อาหารแล้ว”
ทีนี้มาลองเปรียบเทียบกับคนติดบุหรี่ เราจะเห็นได้ว่า คนติดบุหรี่นั้น
มักจะมีพฤติกรรมบางอย่างที่มาควบคู่ไปกับการสูบบุหรี่ เช่น เมื่อขับรถจะสูบบุหรี่ทุกครั้ง
เมื่อตื่นนอนขึ้นมาจะต้องหยิบบุหรี่สูบ ทีนี้ทุกครั้งที่ขึ้นนั่งบนรถ สมองก็จะสั่งว่า “เอาหละ
ฉันขึ้นนั่งบนรถแล้ว ไหนล่ะบุหรี่” แบบนี้เป็นต้น

การเลิกบุหรี่ 
การเลิกบุหรี่ ด้วยการใช้ผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ หรือด้วยกระบวนการทางการแพทย์ สามารถ
ช่วยอาการติดแบบ Psysical Addiction ได้ แต่สำหรับ Habit แล้ว ต้องอาศัยกำลังใจ
ความเข้มแข็ง และความตั้งใจจริง ถ้าหากคุณเป็นผู้หนึ่ง ที่คิดจะเลิกบุหรี่
ในวันพรุ่งนี้ วันงดบุหรี่โลก หรือวันไหนก็แล้วแต่ ที่ถือเป็นวันดีสำหรับคุณ
ลองมาปฏิบัติตามข้อแนะนำต่อไปนี้ เพราะมันจะช่วยให้คุณ ไม่หวนกลับมาหาบุหรี่อีกเลย

1. ทิ้งบุหรี่ที่คุณมีอยู่ให้หมด หาให้ทั่วว่าคุณอาจจะซุกซ่อนบุหรี่ของคุณเอาไว้ที่ไหน ในกระเป๋าเสื้อ กระเป๋ากางเกง เสื้อแจ็คเก็ต ลินชักโต๊ะทำงาน
โยนทิ้งไม่ให้เหลือแม้กระทั่งมวนเดียว ไม่ว่ามันจะมีราคาแพงแค่ไหนก็อย่าเสียดายเป็นอันขาด

2. ที่เขี่ยบุหรี่ก็ทิ้งไปเสียด้วย กรณีที่เสียดายเพราะมันเป็นเครื่องตกแต่งราคาแพง อาจจะยกให้คนอื่นไปเสีย หรือนำไปเก็บไว้ในที่ ๆ คุณแน่ใจว่า จะไม่มองเห็นหรือหยิบออกมาได้โดยง่าย
3. เปลี่ยนทรงผม จะได้ดูว่า เรากำลังจะเป็นคนใหม่
4. ทำความสะอาดบ้านและเครื่องเรือนทั้งหมด รวมทั้งเสื้อผ้าก็นำมาซักให้สะอาด ให้กลิ่นบุหรี่หมดไป จริงอยู่คนสูบบุหรี่จะไม่ได้กลิ่นเหล่านี้หรอก เพราะความเคยชิน แต่เมื่อเลิกแล้ว คุณจะได้กลิ่นของมัน
5. ดื่มน้ำสะอาดมาก ๆ เพราะมันจะช่วยชำระล้าง Nocotine ออกจากร่างกาย และยังช่วยบรรเทาอาการอยากบุหรี่ได้ด้วย

6. ลดปริมาณสาร Caffeine ที่รับประทานในแต่ละวัน ไม่ว่าจะเป็นชาหรือกาแฟก็ตาม โดยก่อนการเลิกบุหรี่ ควรจะพยายามลดปริมาณสารนี้ให้ได้ประมาณครึ่งหนึ่งของที่เคยรับประทานในแต่ละวัน เพราะ Nicotine ทำให้ caffeine ซึมเข้าร่างกายได้รวดเร็วยิ่งขึ้น ถ้าหากคุณรับประทาน Caffeine ในปริมาณเท่าเดิม ขณะที่สูบบุหรี่ อาจจะนำไปสู่ภาวะที่เรียกว่า Caffeine Toxicity โดยมีอาการ กระวนกระวายและเครียดได้ แลtนั่นอาจจะทำให้คุณหันกลับไปสูบบุหรี่อีกครั้ง
7. ออกกำลังกาย เพราะนอกจากจะทำให้ร่างกายสมบูรณ์แข็งแรงแล้ว ยังช่วยให้เราเอาใจออกห่างจากบุหรี่ได้ด้วย
8. หาเพื่อนที่มีความต้องการจะเลิกบุหรี่ด้วยกันสักคน แล้วเลิกพร้อมกันเพื่อที่จะได้เป็นที่ปรึกษา คอยเตือนและคอยให้กำลังใจกัน หรืออาจจะเป็นการหาแรงบันดาลใจอื่น เช่น เลิกเพื่อลูก เลิกเพื่อบิดามารดา หรือคนรักก็ได้

หวังว่าทุกท่าน ที่ตั้งใจแน่วแน่ คงเลิกบุหรี่ได้นะครับ

โดย นพ.ธเนศ พัวพรพงษ์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น